Author Archives: panitsara.s

Life Science Equipment

ในห้องปฎิบัติการ นอกเหนือจากอุปกรณ์และภาชนะที่เป็น plastic ware และ Glass แล้ว ยังมีอุปกรณ์อีกกลุ่มหนึ่งที่สำคัญ นั่นคือกลุ่ม Equipment หรือ อุปกรณ์ไฟฟ้า ที่เข้ามามีบทบาทและใช้งานร่วมกับอุปกรณ์กลุ่มอื่นในทุกๆ กระบวนการและทุกขั้นตอนการทำงานในด้าน Life Sciene เช่น การปั่นเหวี่ยงสารเพื่อแยกชั้น (Centrification) , การผสมสาร (Mixing) และ การเขย่าสาร (Shaker) เป็นต้น Corning life science ไม่เพียงแต่จำหน่ายกลุ่มผลิตภัณฑ์  Plastic ware แต่ยังจำหน่ายกลุ่มผลิตภัณฑ์ อุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับงานทางด้าน LifeScience อีกด้วย โดยใช้ชื่อว่า  Corning® LSE™  โดยได้จำแนกประเภทเพื่อง่ายต่อการเลือกใช้งานของนักวิจัย โดยแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้ Liquid Handling Equipment กลุ่มเครื่องมือที่ใช้สำหรับจัดการของเหลวต่างๆ ในห้องแลป  Corning® Lambda single-channel, 8-channel, and 12-channel

Let’s get to know “MEDIA”

Medium หรือ Media คือ อาหารเพาะเลี้ยงเซลล์เหมาะสำหรับเพาะเลี้ยงเซลล์จากสัตว์ (animal cells) จะประกอบด้วยแหล่งพลังงานและสารประกอบที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของเซลล์ อาหารเลี้ยงเซลล์โดยทั่วไปประกอบด้วย กรดอะมิโนวิตามิน เกลืออนินทรีย์ กลูโคส เป็นต้น Media แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ Classical media และ Specialty Media Classical media คือ อาหารเลี้ยงเซลล์ที่ได้ปรับปรุงสูตรอาหารให้เหมาะสำหรับการเพาะเลี้ยงเซลล์ยึดเกาะ (Adherent cell ) หรือ เซลล์ลอย (Suspension cell) โดยในการเพาะเลี้ยงเซลล์ด้วย Classical media จำเป็นต้องผสมกับ Serum เช่น Fetus bovine serum (FBS) เพื่อเพาะเลี้ยงเซลล์เพื่อให้เซลล์มีการเจริญเติบโตและเพิ่มจำนวน ซึ่ง Classical media มีหลายสูตร ด้วยกันเช่น EMEM (MEM), DMEM, AMEM (Alpha MEM),

รู้จักงานด้าน ELISA 

Enzyme-linked immunosorbent assay (ELISA) หรือ Enzyme Immunoassay (EIA) เป็นชื่อของการทดสอบที่ใช้หลักการทางภูมิคุ้มกันวิทยา โดยอาศัยปฏิกิริยาการจับกันแบบจำเพาะระหว่างแอนติเจน (Antigen)และแอนติบอดี้ (Antibody) โดยหลักการของวิธี ELISA คือ การใช้แอนติเจน (Antigen) หรือ แอนติบอดี (Antibody) เคลือบติดพื้นผิว ELISA Plate  โดยติดฉลากด้วยเอนไซม์ลงบนแอนติเจนหรือแอนติบอดี้  จากนั้นเมื่อเติมสารตั้งต้นการเกิดปฏิกริยา (substrate) ลงไป จะทำปฏิกิริยากับเอนไซม์แล้วเปลี่ยนสีเมื่อกลายเป็นผลิตภัณฑ์ จากนั้นวัดผลของสีที่เกิดขึ้นโดยอ่านค่าการดูดกลืนแสงด้วยเครื่องอ่านไมโครเพลท (Microplate Reader) ก็สามารถตรวจสอบทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพของสารที่เราต้องการตรวจสอบได้ หลักการ ELISA สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทดลองที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเชิงปริมาณและ คุณภาพของแอนติเจนและแอนติบอดี เช่น วินิจฉัยโรคติดเชื้อจุลชีพ แบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต เชื้อรา สารพิษจากจุลชีพ และ ยา ยกตัวอย่างการตรวจวิเคราะห์โรคอย่างเช่น การตรวจหาเชื้อ COVID-19 จากตัวอย่างเลือดผู้ป่วย รวมถึงการตรวจสอบทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพของสารที่ต้องการ  ซึ่งมีขั้นตอนง่ายๆดังนี้ ให้แอนติเจนหรือแอนติบอดีเคลือบอยู่บน solid phase เช่น บนผิวของภาชนะทดลอง,

ANH X Kerry นำผลิตภัณฑ์สำหรับอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพการหมัก มาสู่นักวิจัยไทยแล้ววันนี้

เคอรี่ (KERRY) เป็นบริษัทผู้จำหน่ายแหล่งไนโตรเจน (Nitrogen Source) ได้แก่ โปรตีนไฮโดรไลเสท (Protein hydrolysates) จากพืชและผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เพื่อสำหรับการเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์  การเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์ ได้แก่ แบคทีเรีย รา ยีสต์ เพื่อการทดลองในระดับห้องปฏิบัติการ (Laboratory Scale) รวมถึงการเพาะเลี้ยงในระดับอุตสาหกรรม (Bioprocess Scale) มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเพาะเลี้ยงแบคทีเรียภายในอาหารเลี้ยงเชื้อที่เตรียมขึ้น โดยอาหารเลี้ยงเชื้อนั้นต้องมีความเหมาะสมกับแบคทีเรียแต่ละชนิดให้มากที่สุด  อาหารเลี้ยงเชื้อ คืออาหารซึ่งมีส่วนประกอบของสารอาหารที่ส่งเสริมให้จุลินทรีย์สามารถเจริญเติบโตและแบ่งเซลล์เพื่อเพิ่มจำนวนได้ โดยจุลินทรีย์ต่างชนิดกัน มีความต้องการสารอาหาร ตลอดจนสภาพความเป็นกรดด่าง (pH) ของอาหารแตกต่างกัน โดยอาหารเลี้ยงเชื้อประกอบด้วย วิตามิน growth factor แหล่งคาร์บอนและแหล่งไนโตรเจน  วิตามินและ growth factor หมายถึงสารประกอบใดก็ตามที่ช่วยสงเสริมหรือเร่งอัตราการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ โดยมีปริมาณเพียงเล็กน้อยในอาหารเพาะเลี้ยง สำหรับวิตามินได้แก่ วิตามินบี 1 (Thiamin), วิตามินบี2 (Riboflavin),และกรดโฟลิค (Folic acid) เป็นต้น และสำหรับgrowth factor ได้แก่ ไบโอติน (biotin),

นับเซลล์ยังไง?…ให้แม่นยำ!!

ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่ทำงานเพาะเลี้ยงเซลล์ในห้องปฏิบัติการ และเมื่อเซลล์ที่คุณเลี้ยงเพิ่มปริมาณมากขึ้น การนับเซลล์ (Cell counting) ก็เป็นหนึ่งในขั้นตอนการทำงานที่คุณต้องพบเจอ ในงานด้านวิทยาศาสตร์สิ่งมีชีวิต (Life Science) เราต้องมีการนับเซลล์เพื่อหาปริมาณของเซลล์ที่เกิดขึ้น ทั้งในงานการเพาะเลี้ยงเซลล์ (cell culture) งานเพื่อการวินิจฉัยและรักษาโรค เช่น การนับเซลล์เม็ดเลือดขาวและเซลล์เม็ดเลือดแดง โดยหน่วยที่นิยมใช้ในการนับเซลล์คือ จำนวนเซลล์ต่อหน่วยปริมาตร หรือความเข้มข้น ยกตัวอย่างเช่น เซลล์จำนวน 5,000 เซลล์ต่อหน่วยมิลลิลิตร การเพาะเลี้ยงเซลล์ เราจะแบ่งเซลล์ได้เป็น 2 ชนิด คือ เซลล์เกาะ (adhesion cell) ที่โตกระจายทั่วภาชนะเลี้ยงเซลล์ เมื่อถึงเวลานับเซลล์ เราต้องทำการลอกเซลล์ (detach) ออกจากภาชนะเพาะเลี้ยงเซลล์ โดยใช้น้ำยาเพื่อลอกเซลล์ (Dissociation Solution) เช่น ทริปซิน (Trypsin) ก่อนที่จะเริ่มนับเซลล์ เซลล์แขวนลอย (suspension cell) การเริ่มนับเซลล์ชนิดนี้ไม่จำเป็นต้องมีการลอกเซลล์ออกจากภาชนะ แต่คุณต้องดูดสารละลายเซลล์ที่อยู่ในอาหารเพาะเลี้ยง (cell culture medium) แล้วจึงจะสามารถนำเซลล์ไปนับได้ทันที ซึ่งการนับเซลล์ จะมี 2

Corning® Lambda™ EliteTouch™ Pipettor ตัวเลือกช่วยเลี่ยงอาการ RSI

คุณเคยได้ยินไหมว่า RSI เป็นมหันตภัยร้ายของคนทำงาน นี่คืออาการบาดเจ็บจากการทำงานซ้ำๆ ที่เกิดจากส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายที่ได้รับบาดเจ็บสะสมมาเป็นระยะเวลานาน  หากคุณต้องใช้ Auto pipette เป็นเวลานานอย่างน้อย 4-8 ชั่วโมงต่อวัน เพื่อให้การวิจัยและทดลองดำเนินอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาการบาดเจ็บอาจจะเกิดขึ้นมาโดยที่คุณไม่รู้ตัวจากการออกแรงกดตัว Plunger ของปิเปต ดังนั้น Corning® Lambda™ EliteTouch™ Pipettor จึงเป็นอีกทางเลือกที่จะช่วยให้คุณเลี่ยงจากอาการดังกล่าว Corning® Lambda™ EliteTouch™ Pipettor เครื่องดูดจ่ายสารละลายปริมาตรน้อยแบบอัตโนมัติของ Corning ได้รับการออกแบบทางวิศวกรรมให้มีน้ำหนักเบาเพื่อลดความเมื่อยล้าเมื่อทำงานต่อเนื่องเป็นเวลานาน ด้วยส่วนของรูปร่างโค้งของด้ามจับ ถูกออกแบบมาเพื่อการใช้งานที่สะดวกสบายและเข้ากับสรีระร่างกายเพื่อให้สามารถใช้ได้ทั้งมือซ้ายและมือขวา อีกทั้งเพิ่มตัวบอกปริมาตรให้มี  4 ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้ใช้มั่นใจในการดูดสารละลายที่ถูกต้องและแม่นยำมากขึ้น การเคลื่อนไหวของ Plunger ที่ลื่น ทำให้การออกแรงในการกดปิเปตน้อยลง จึงช่วยลดอาการบาดเจ็บและอาการล้าของข้อมือ หรือที่เรียกว่า RSI = Repetitive strain injury Feature : New Design Ergonomic : เป็นการออกแบบโดยให้เหมาะสมกับการทำงานของร่างกาย 4-digit counter :

Corning CoolCell ลืมไปเลย ว่าเคยใช้แอลกอฮอล์ !!

พบตัวช่วยที่ทำให้คุณมั่นใจได้ว่า เซลล์ที่คุณกำลังเก็บรักษาไว้จะคงคุณภาพที่ดีพอสำหรับงานวิจัยอันทรงคุณค่าของคุณตลอดไป แล้วปัญหาและข้อยุ่งยากในการเก็บเซลล์จะหมดไปจากคุณให้ Corning CoolCell Containers เป็นตัวช่วยปรับอุณหภูมิของเซลล์ให้ลดลงก่อนทำการเก็บเซลล์ในไนโตรเจนเหลว ด้วยคุณสมบัติที่โดดเด่น 3 ประการ คือ 1. Thermo conductive alloy core สามารลดอุณหภูมิให้ลดต่ำลงอย่างเที่ยงตรง ในอัตรา 1 องศาเซลเซียสต่อนาที ซึ่งมีผลต่อการอยู่รอดของเซลล์ รวมไปถึงความสามารถฟื้นตัวและเจริญเติบโตของเซลล์ที่จะเพาะเลี้ยงในวงรอบต่อไป 2. ความหนาแน่นอย่างสม่ำเสมอของเนื้อมวลสารโพลีเอทธิลีน โฟม ที่ Corning ใช้ผลิต Corning CoolCell Containers  3. การจัดเรียงหลอดอย่างสมมาตร (Radial vial symmetry) ส่งผลให้มีการลดลงของอุณหภูมิอย่างสม่ำเสมอทุกหลอด Corning CoolCell สะดวก ประหยัดเวลาในการทำงาน แล้วคุณจะลืมไปเลยว่าเคยใช้แอลกอฮอล์ ด้วยวิธีการใช้งานง่ายๆ เพียงแค่นำหลอด Cryogenic Vials ที่บรรจุเซลล์ที่พร้อมสำหรับการแช่แข็งบรรจุลงใน Corning  CoolCell  จากนั้นนำไปแช่ในตู้แช่อุณหภูมิลบ 80 องศาเซลเซียส เพียงแค่ 4 ชั่วโมงเท่านั้น ท่านก็สามารถนำหลอด Cryogenic

Pipette Tip Corning เลือกอย่างไรดี

Pipette Tip Corning แต่ละรุ่นแตกต่างกันอย่างไร ด้วยสถานการณ์ในท้องตลาด ที่มีการวิจัยและพัฒนากันอย่างไม่หยุดนิ่ง ทาง Corning จึงต้องคิดค้นและพัฒนาคุณภาพสินค้าให้ก้าวทันตามยุคสมัยและตอบโจทย์ผู้บริโภคให้มากที่สุด วันนี้จะขอเล่าถึงการออกแบบปิเปตทิป (Pipette tip) ในแต่ละรุ่นของ Corning ที่ตั้งใจทำให้มีเอกลักษณ์เฉพาะ เพื่อให้ผู้บริโภคได้รู้สึกถึงความแตกต่างและตอบโจทย์งานวิจัยที่หลากหลายมากขึ้น  รุ่นแรกคือ Pipette Tip รุ่น Original มี 4 ขนาด คือ 10µL, 30 µL, 200 µL, 1000µL ความพิเศษของรุ่นนี้มีความเป็น Universal tip ที่สามารถใช้ได้กับตัวเครื่องดูดจ่ายสารละลาย (Auto pipette) ทุกยี่ห้อ และมีการออกแบบส่วนปลายของ Pipette tip ขนาด 200 µL ให้มีลักษณะพิเศษที่เรียกว่า “Beveled orifice” คือทำให้ส่วนปลายของ Pipette Tip มีความเอียงลาดเพื่อลดพื้นที่หน้าตัดของปลาย Pipette tip ให้เหลือน้อยที่สุด (มีลักษณะเป็นปลายหักศอก)